รายการบล็อกของฉัน

วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สุญญตา ของท่านพุทธทาส

คัดจากหนังสือสุญญตา ของท่านพุทธทาส

สุญญตา ที่ตรัสกับฆราวาส
สุญญตา = ว่างจากตัวกู ของกู คือ อุปาทาน
สุญญตาฆราวาสปุถุชน = ว่างชั่วเวลามีสติปัญญา
สุญญตาอรหันต์ = ว่างตลอดกาล
สุญญตาเสขบุคคล = ก็ว่างเป็นคราวๆ แต่ยังมาก หรือดีกว่าปุถุชน

ดังนั้น เป็นสุญญตาชนิดเดียวกัน
เหมือนน้ำทะเลที่ตักมากระป๋องหนึ่ง, กับในทะเลทั้งหมด

ฆราวาส ที่เหมาะกับ สุญญตา

พระพุทธเจ้า ถือว่า ฆราวาสทั่วไป เหมาะกับสุญญตา จึงตรัสขึ้นเช่นนั้น เมื่อถูกถามเช่นนั้น
ฆราวาส (ครั้งพุทธกาลโดยเฉพาะ) เข้าใจความหมาย ของคำว่าสุญญตา จึงทูนทัดทานได้

แต่ฆราวาสไม่น้อย คงรับเอาโดยสมัครใจ
มิฉะนั้น พระองค์จะมากล่าวถึง ทำไมกัน ?

ดังนั้น ฆราวาสทั่วไป เหมาะกับการศึกษาสุญญตา (ซ.ต.พ.)




เราก็ต้องฝึกจิต ให้สภาพจิตเดิมแท้ สุญญตา จิตว่างจากกิเลส จิตว่างจากความรู้สึกกู ของกู เกิดขึ้นนานๆ ต้องหมั่นฝึกจิตภาวนาในชีวิตประจำวันนี่แหละ ฆราวาสอยู่ท่ามกลางกองไฟ ผัสสะรอบด้านร้อนแรง

สุญญตาอย่างฆราวาส มีชั่วคราว ประเดี๋ยวประด๋าว เพราะจิตคุ้นกับการให้กิเลสเข้ามาแทรกในจิต ไม่ว่าจะเป็นความฟุ้งซ่าน ความวิตกกังวล ความอิจฉาริษยา หรือเรื่องราวต่างที่ผุดขึ้นมาปรุงแต่งจิตให้ สุญญตาหายไป (กิเลสเข้ามาแทนที่ความว่าง)
เสียงขลุ่ยกลับมาหากอไผ่

เสียงขลุ่ยหวน กลับมา หากอไผ่
จงคิดให้ เห็นความ ตามนี้หนอ
ว่าลำไผ่ ตัดไป จากไผ่กอ
ทำขลุ่ยพอ เป่าได้ เป็นเสียงมา

เสียงก็หวน กลับมา หากอไผ่
เป่าเท่าไร กลับกัน เท่านั้นหนา
เหมือนไอน้ำ จากทะเล เป็นเมฆา
กลายเป็นฝน กลับมา สู่ทะเล

เหมือนตัณหา พาคน ด้นพิภพ
พอสิ้นฤทธิ์ ก็ตลบ หาทางเห
วิ่งมาสู่ แดนวิสุทธิ์ หยุดเกเร
ไม่เถล ไถลไป ที่ไหนเลย

อันความวุ่น วิ่งมา หาความว่าง
ไม่มีทาง ไปไหน สหายเอ๋ย
ในที่สุด ก็ต้องหยุด เหมือนอย่างเคย
ความหยุดเฉย เป็นเนื้อแท้ แก่ธรรมแล
ค่อยพิจารณาธรรมตามบทกวีเสียงขลุ่ยหวลกลับมาหากอไผ่  ก็จะเข้าใจเรื่องสุญญตา เหมือนตัณหาพาคนด้นพิภพ พอสิ้นฤทธิ์ก็ตลบหาทางเห วิ่งมาสู่ แดนวิสุทธิ์ หยุดเกเร ไม่เถลไถลไป ที่ไหนเลย

ถ้าใครยังไม่เคยรู้สึก สุญญตา ลองนึกถึงตอนที่เรานอนหลับสนิท ไม่มีเรื่องราวรบกวน ไม่ฝัน (ทั้งฝันดีและฝันร้าย) หรือตอนที่ทำงานสนุก เรียนหนังสือสนุก เล่นสนุก หรือกำลังพิมพ์ กำลังสนทนานี้ ถ้าจิตไม่ว่าง (สุญญตา) ก็ไม่อาจจะสนทนากันเข้าใจ หรือรู้เรื่องได้ นี่ก็เป็นตัวอย่างของสุญญตา เช่นกัน (จิตอยู่กับปัจจุบัน จิตปรกติ ไม่มีสิ่งรบกวน)

แก้วชอบนั่งดูน้ำนานๆ ดูพระอาทิตย์นานๆ ดูธรรมชาตินานๆ จิตใจช่วงเวลานั้น จิตสงบจากกิเลส พอเข้ามาในเมืองมีหน้าที่การงาน แวดล้อมด้วยผู้คน ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ลูกค้ามิตรสหาย มากระทบ ยิ่งมีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว จิตว่าง (สุญญตา) กลายเป็นจิตวุ่นได้ทันใด บางทีกว่าจะปราบกิเลสให้สงบลงได้ ก็เล่นเอาเหนื่อย

ลองไปหัดสังเกตจิตใจตัวเอง สังเกตให้ละเอียดละออ สภาพจิตใจในแต่ช่วงเวลาตั้งแต่ตื่นลืมตา ในแต่ละผัสสะ (สิ่งที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) แล้วจะค่อยเข้าใจเรื่อง กฏอิทัปปัจจยตา (เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี)

จะ เข้าใจเรื่องสุญญตาได้ ต้องรู้จักเรื่องภายในตนเอง รู้จักตนเอง อย่างละเอียดละออ เข้าใจ (เห็น) สภาพความวุ่น , เข้าใจ (เห็น) สภาพความว่าง ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจตนเอง

สุญญ ตา (ความว่าง) สภาพจิตใจที่ไม่มีความรู้สึกปรุงขึ้นมาเป็นตัวกู ของกู (สภาพอย่างนี้ต้องเห็นจริงๆ) จึงจะเข้าใจความรู้สึกที่มีกู แล้วก็จะเข้าใจความรู้สึกที่ไม่มีกู (สุญญตา)
หรือจะยกตัวอย่างเรื่อง "การกินอาหาร" เมื่อถึงเวลาอาหาร ให้เฝ้าสังเกตจิตใจ อาจจะกำหนดไว้เป็นเวลาในการฝึกหัดเจริญสติก็ได้ มีตั้ง ๓ มื้อ ก็ได้ฝึกสติ ๓ เวลา (เช้า กลางวัน เย็น) วันละตั้ง ๓ ชั่วโมง เป็นช่วงเวลาแห่งการฝึกสมาธิ ฝึกสติไปพร้อมกัน

การกินอาหาร ถ้ากินอย่างสุญญตา ก็กินด้วยสติปัญญา กินตามเหตุปัจจัยของร่างกาย ไม่เกี่ยวกับจิตใจ กินเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกาย ลิ้นสัมผัสอาหาร จิตใจเป็นอย่างไรบ้าง , อาหารที่ชอบ จิตใจเป็นอย่างไรบ้าง , อาหารที่ไม่ชอบ จิตใจเป็นอย่างไรบ้าง เฝ้าสังเกตอย่างนี้ไปเรื่อง ก็จะรู้จักสุญญตา อิทัปปจจยตา

การกินอาหาร ถ้ากินตามกิเลส สั่งอาหารก็สั่งตามกิเลสบงการ อยากกินอะไร ก็สั่งอาหาร กินอาหารตามกิเลสบงการ จิตใจจะเร่าร้อนทุรนทุราย แล้วก็ต้องดิ้นรนไปหากินอาหารที่ติดรสนั้น ทำความลำบากให้กับตัวเอง

ธรรมะ เรื่อง สุญญตา เป็นเรื่องที่ลูกเล็กเด็กแดง ผู้ใหญ่ คนแก่ ต้องทำความรู้จัก แล้วก็ต้องรู้จักจริงๆ รู้จักแล้วก็ต้องฝึกให้จนเห็นความรู้สึกที่มีความทุกข์บีบคั้น เห็นความรู้สึกที่ความทุกข์สลายหายไป (ความว่าง) ถ้าเห็นอย่างนี้ ก็จะเข้าใจเรื่อง "ตัวตนไม่ได้มีอยู่จริง มีเพียงเหตุปัจจัยที่กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่เนืองนิตย์"

ถ้า รู้จักสภาพจิตใจที่ว่าง สว่าง สงบ (สุญญตา) เข้าใจว่าความทุกข์เกิดขึ้นได้แทนที่จิตว่าง (สุญญตา) เพราะมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้น (จากภายในจิตใจตนเอง) จิตปรุงเรื่องราวที่ทำให้เกิดขึ้นความทุกข์มาเองอัตโนมัติ เพราะจิตทั่วไป เมื่อมีเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งจิตได้ ความทุกข์ก็จะผุดขึ้นมาได้

อย่าได้ไปฟังสิ่งเพ้อเจ้อจากภายนอก ให้หันมาฟังภายใน แล้วจะเข้าใจเรื่องสุญญตา -


See more at: http://www.sunyatadham.org/forum/index.php?topic=314.15#sthash.fTm1UAoB.dpuf

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น