รายการบล็อกของฉัน

พระวินัยปิฎก

พระวินัยปิฎก


               พระวินัยปิฎก เป็นธรรมที่แสดงถึงเรื่องระเบียบ หรือกฎข้อบังคับ วางหลักให้ประพฤติปฏิบัติเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามเปรียบเหมือนกับดอกไม้ที่เขานำมาร้อยเอาไว้มิให้กระจัด กระจาย ผู้ที่มิได้ประพฤติตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับหรือล่วงละเมิดก็ย่อมถูกลงโทษตามสมควร

               ทว่า พระวินัยปิฎกนั้นมิได้มีแต่กฎข้อบังคับเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาสะท้อนประวัติศาสตร์ของอินเดียในสมัยพุทธกาลด้วย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติของบุคคลสำคัญบางคนในยุคนั้น เช่น ชีวกโกมารภัจจ์  เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก่
•             ภาค 1 สุตตวิภังค์
•             ภาค 2 ขันธกะ
•             ภาค 3 ปริวาร
              
               พระวินัยปิฎกนี้ มีอยู่ ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แยกออกเป็น ๕ คัมภีร์ด้วยกัน คัมภีร์ทั้ง ๕ นี้ 
มีชื่อย่อ เพื่อให้จำง่าย ๆ โดยเอาพยางค์หน้ามาตั้งชื่อว่า อา. ปา. มะ. จุ. ปะ. ได้แก่

 ๑. อาทิกัมมิกะ (มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า มหาวิภังค์ ) ว่าด้วยข้อห้ามหรือวินัย ที่เป็นหลักใหญ่ ๆ ของภิกษุ
 ๒. ปาจิตตีย์ (มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ภิกขุนีวิภังค์ ) ว่าด้วยข้อห้ามหรือวินัยของนางภิกษุณี
 ๓. มหาวรรค ว่าด้วยพุทธประวัติตอนแรก และพิธีกรรมทางพระวินัย
 ๔. จุลวรรค ว่าด้วยพิธีกรรมทางพระวินัยและความเป็นมาของนางภิกษุณี และประวัติการทำสังคายนา
 ๕. บริวาร ว่าด้วยข้อเบ็ดเตล็ดทางพระวินัย


              ในภายหลังมีการแบ่งเป็น 5 ส่วน และถือเอาเป็นหลักในการจำแนกหมวดพระวินัยมาจนปัจจุบัน ดังนี้
1.  มหาวิภังค์ เนื้อหาเกี่ยวกับมูลเหตุแห่งการบัญญัติพระวินัย และข้อวินัยของพระสงฆ์ 220 ข้อ กับวิธีพิจารณาข้อพิพาทอีก 7 ข้อ รวมเป็น ศีล 227 ข้อ
2.  ภิกขุนีวิภังค์ กล่าวถึง วินัยของพระภิกษุณี ที่ไม่ซ้ำกับพระภิกษุ 130 (ภิกษุณีมีวินัย 311 ข้อ)
3.  มหาวรรค แบ่งได้เป็น 10 หมวดย่อย หรือ 10 ขันธกะ กำเนิดภิกษุสงฆ์ และกิจการเกี่ยวแก่ภิกษุสงฆ์ ได้แก่ มหาขันธกะ, อุโบสถขันธกะ, วัสสูปนายิกาขันธกะ, ปวารณาขันธกะ, จัมมขันธกะ, เภสัชชขันธกะ, กฐินขันะกะ, จีวรขันธกะ, จัมเปยยขันธกะ และโกสัมพิขันธกะ
4.  จุลวรรค แบ่งเป็น 12 หมวดย่อย หรือ 12 ขันธกะ เกี่ยวกับระเบียบความเป็นอยู่ของภิกษุ ภิกษุณี และเรื่องสังคายนา ได้แก่ กรรมขันธกะ, ปริวาสิกขันธกะ, สมุจจยขันธกะ, สมถขันธกะ, ขุททกวัตถุขันธกะ, เสนาสนขันธกะ, สังฆเภทขันธกะ, วัตตขันธกะ, ปาฏิโมกขัฏฐปนขันธกะ, ภิกขุนีขันธกะ, ปัญจสติกขันธกะ และสัตตสติกขันธกะ
5.  ปริวาร เป็นข้อปลีกย่อยต่างๆ และคู่มือถามตอบซักซ้อมเกี่ยวกับพระวินัย

               พระวินัยปิฎก เป็นธรรมที่แสดงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อยหรือกฎข้อบังคับ พระพุทธเจ้าทรงวางหลักให้ภิกษุสงฆ์ประพฤติปฏิบัติเพื่อความสวยงามของหมู่คณะ ผู้ที่ฝ่าฝืนประพฤติผิดตามกฎเกณฑ์ข้อบังคับของพระวินัย หรือล่วงละเมิดก็ย่อมถูกลงโทษตามสมควรแก่โทษานุโทษ พระวินัยปิฎกนั้นพระองค์ทรงบัญญัติขึ้นก็ด้วยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการคือ

 ๑. สงฺฆสุฏฺฐุตาย เพื่อความยอมรับว่าดีแห่งสงฆ์
 ๒. สงฺฆผาสุตาย เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งสงฆ์
 ๓. ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย เพื่อข่มบุคคลผู้ไม่รู้จักอาย
 ๔. เปสลานํ ภิกขูนํ ผาสุวิหาราย เพื่อความอยู่อย่างผาสุกของภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก
 ๕. ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย เพื่อปิดกั้นเรื่องเสื่อมเสียไม่ให้เกิดในปัจจุบัน
 ๖. สมฺปรายิกานํ อาสวานํ ปฏิฆาตาย เพื่อป้องกันเรื่องเสื่อมเสียมิให้เกิดขึ้นในอนาคต
 ๗. อปฺปสนฺนานํ ปสาทาย เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสแก่บุคคลผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส
 ๘. ปสนฺนานํ ภิยฺโย ภาวาย เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสยิ่งขึ้นแก่บุคคลผู้ที่เลื่อมใสอยู่แล้ว
 ๙. สทฺธมฺมฏฺฐิติยา เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม

 ๑๐. วินยานุคฺคหาย เพื่อความอนุเคราะห์แก่พระวินัย

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%8E%E0%B8%81

http://www.history.mbu.ac.th/buddhism/bud2-10.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น